ฝึกเขียนอย่างไรดี?

ฝึกเขียนอย่างไรดี?
เอาล่ะ ถ้าคุณเป็นมือใหม่อยากเขียน หรือกำลังอยู่ในช่วงฝึกเขียน เรามีเทคนิคง่ายๆ 3 ข้อสำหรับนำไปปรับใช้กัน ถ้าผู้อ่านมีเทคนิคการเขียนดีๆ สามารถแชร์ในคอมเมนต์ได้เลยนะคะ

1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี
“ก็แค่เขียนเอง ไม่น่าจะยาก…” ทั้งๆ ที่เหมือนจะเป็นทักษะง่ายๆ แต่พอจับปากกา (หรือใครถนัดพิมพ์ก็ว่ากันไป) เท่านั้นล่ะ สมองกลับว่างเปล่า นึกอะไรไม่ออกซะอย่างนั้น…ทำอย่างไรดี?

ถ้าเปรียบเทียบสมองเป็นเหมือนโกดังเก็บข้อมูล การอ่านก็คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในโกดัง ในขณะที่การเขียนคือการดึงข้อมูลจากโกดังออกมาใช้


ปัญหาของคนที่ “ไม่รู้จะเขียนอะไร” อาจจะเป็นเพราะมีคลังข้อมูลในโกดังน้อยเกินไป จนไม่สามารถดึงอะไรออกมาเขียนได้ การเขียนที่ดีจึงเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดีก่อน นอกจากจะเป็นการเพิ่มข้อมูลในโกดังแล้ว คุณยังได้ศึกษาวิธีการเขียนของคนอื่นอีกด้วย

“ยิ่งเราอ่านมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้เยอะมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสถานที่ที่เราจะไปมากขึ้นเท่านั้น”
– ดร.ซูสส์ นักสร้างสรรค์หนังสือเด็ก จากหนังสือ I Can Read With My Eyes Shut!

2. ฝึกเขียนไดอารี่
การเขียนเรื่องราวของตัวเองมีประโยชน์ในแง่ที่เราได้ทบทวนตัวเอง และยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนกำลังฝึกเขียน ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอะไรดี ลองเขียนอะไรง่ายๆ อย่างการเล่าเรื่องราวชีวิตตัวเอง เช่น ประสบการณ์ทั้งดีและแย่ที่คุณได้เผชิญ บทเรียนที่คุณได้รับจากเหตุการณ์ต่างๆ ฝึกอธิบายความรู้สึกและความคิดของคุณออกมา เป็นต้น

3. เขียนสม่ำเสมอ
สุดท้ายไม่มีอะไรสามารถแทนที่การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอได้ ทักษะต่างๆ ก็เหมือนมีด ยิ่งลับยิ่งคม

ดังนั้นตั้งเป้าหมายเขียนทุกวัน เขียนอะไรก็ได้วันละนิดวันละหน่อย อาจจะเริ่มต้นจากการเขียนสเตตัสลงโซเชียลมีเดีย เขียนบล็อก แล้วค่อยๆ ขยับขยายไปเขียนประเด็นอื่นๆ ที่ไกลตัวออกไป นอกจากทักษะการเขียนจะดีขึ้นแล้ว คุณจะมีวิธีการคิดที่เฉียบคมขึ้นด้วย

สรุป
ทักษะที่จำเป็นต้องมีเพื่อการ “อยู่รอด” ในอนาคตจะไม่จำกัดแค่ด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพอย่างเดียว ปัจจุบันหลายๆ ทักษะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี AI ดังนั้นทักษะที่จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ทักษะการเข้าสังคม (เช่น การสื่อสาร, การจัดการอารมณ์, ภาวะผู้นำ, เป็นต้น) ทักษะการแก้ไขปัญหา (เช่น การวิเคราะห์ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์, การสื่อสาร, เป็นต้น)

การเขียนเสมือนเป็นที่ลับคมทักษะเหล่านี้ไปในตัว เพราะเมื่อคุณเขียน สมองจะถูกกระตุ้นให้ตกผลึกความรู้ หรือประสบการณ์ออกมาเป็นตัวอักษร เมื่อคุณเขียน คุณจะต้องอ่านหนังสือ ค้นคว้าข้อมูลเยอะขึ้น และการเขียนจะทำให้คุณดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา

ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค การเขียนก็ยังคงเป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนและคนทำงานควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ไม่สำคัญว่าจะอยู่ในสายงานอาชีพใด

PREVIOUS NEXT
Content  
5 เทคนิคในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของคุณให้จำได้อย่างรวดเร็วและใช้งานได้จริง
เทคนิคการจดบันทึก ทำให้จดรวดเร็ว และเข้าใจง่ายขึ้น
7 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยทำให้ความจำของคุณดีขึ้น
รวม 8 นิสัยที่ยิ่งทำให้คุณยิ่งเครียด
5 วิธีจัดการความเครียดที่คุณเองก็ทำได้ง่าย ๆ
9 สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย
เคล็ดลับฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไงให้เข้าหู
การทักทาย/แนะนำตัว
งานอดิเรก/เวลาว่าง
ซื้อของ/ถามราคา
ฝึกเขียนอย่างไรดี?
เทคนิคการจดบันทึก ทำให้จดรวดเร็ว และเข้าใจง่ายขึ้น
รวมคำถาม ความรู้รอบตัว-ปุจฉาวิสัชนา
7 วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยทำให้ความจำของคุณดีขึ้น