เทคนิคที่ 1 เวลาอ่านห้ามออกเสียง
การอ่านออกเสียงนั้นเกิดจากกระบวนการทางสมองหลายขั้นตอนซึ่งจะส่งผลให้อ่านล่าช้าขึ้น แต่ถ้าเราอ่านด้วยตาและสมอง ทำให้ลดการผ่านขั้นตอนต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านได้เร็วขึ้น
เทคนิคที่ 2 การอ่านไปข้างหน้าแบบการใช้ตาประสานมือ
วิธีการก็คือ เราอาจใช้มือหรือดินสอมาชี้ใต้ข้อความที่เราอ่านอยู่ มันจะช่วยให้เรามีสมาธิอยู่กับส่วนที่มอง ไม่วอกแวก โดยมีข้อแนะนำคือเวลาอ่านให้พยายามส่ายแต่เฉพาะสายตาเท่านั้น อย่าส่ายหัวไปด้วยเพราะอาจทำให้สมาธิหลุดได้
เทคนิคที่ 3 การอ่านเป็นช่วงๆ
เวลาเราโฟกัสที่จุดๆหนึ่งเราจะเห็นบริเวณข้างๆของจุดนั้นด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการอ่านเป็นช่วงๆ การอ่านเป็นช่วงๆเราจะโฟกัสกลุ่มคำแทนที่จะอ่านเป็นคำๆ ให้มาอ่านเป็นกลุ่มคำแทน จะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น
เทคนิคที่ 4 การอ่านกลางบรรทัดในแนวดิ่ง
ทำได้โดยโฟกัสไปยังช่วงกลางของแต่ละบรรทัดโดยมีกรอบสายตามองส่วนข้างๆได้แก่ด้านขวาและซ้าย ซึ่งจะทำให้เราอ่านได้ครั้งละ1บรรทัดเลยทีเดียว การอ่านแบบนี้อาจต้องอาศัยความพยายามบ้าง แม้ตอนแรกที่เริ่มทำอาจจะไม่ถนัดนักแต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จะช่วยให้มีความชำนาญมากขึ้นเองค่ะ
เทคนิคที่ 5 การอ่านโดยใช้ระบบจำภาพ
คำที่ใช้อยู่บ่อยๆในชีวิตประจำวัน จริงๆแล้วเราสามารถจำภาพของคำได้โดยไม่ต้องคิดด้วยซ้ำว่าสะกดอย่างไร ซึ่งเกิดจากความมหัศจรรย์ของสมองเรานั่นเองสังเกตุได้จากแม้จะสะกดผิดแต่เราก็สามารถรู้ได้ว่าเป็นคำอะไรเช่น ‘การอาน่หันงสอืเปน็ปรจะำทกุวนัจะทำให้อาน่หันงสอืได้เรว็ขนึ้มกา’ เป็นต้น